JobASD.com
หางาน || หาคน ||   หน้าแรก อัตราค่าโฆษณา การชำระเงิน ติดต่อเรา
ผู้ประกอบการ ผู้สมัครงาน
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
 
 
หมวดหมู่อาชีพ : ระดับเงินเดือน : หางาน หาคน
ระดับการศึกษา :
เทคนิควิธีการกรอกใบสมัครงานให้ดี
ข้อ แนะนำและข้อที่ต้องระมัดระวังในการกรอกใบสมัครงาน กรณีที่จะต้องกรอกใบสมัครงาน ณ ที่ทำการของหน่วยงานที่เปิดรับสมัครงาน ควรจะ ต้องระมัดระวังในการกรอกใบสมัครงานดังนี้

1.หากในใบสมัครมีคำแนะนำ 
(ซึ่งโดยปกติจะเป็นตอนต้นของใบสมัคร) หรือคำสั่งอื่นๆ ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือคำสั่งนั้น

2.อ่านก่อนกรอก 
ควรอ่านใบสมัครทั้งหมดให้ละเอียดเสียก่อน ก่อนลงมือกรอก

3. เตรียมอุปกรณ์ ควร จะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ไปให้พร้อม เช่น ปากกา ยางลบหมึก (ในบางกรณีหากจะต้องลบคำผิด และไม่มียางลบ อาจจะขอยืมน้ำยาลบคำผิดจากเจ้าหน้าที่รับสมัครก็ได้)

4. เตรียมเอกสาร ควร จะเตรียมเอกสารต่างๆประกอบการสมัครงานให้พร้อมและเรียบร้อย ควรจะนำตัวจริงและถ่ายเอกสารไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรซูเม่ หรือ ใบประวัติย่อ (Resume) หากเอกสารเหล่านี้ ได้จัดส่งมาแล้วทางจดหมายสมัครงานก็ขอให้ระบุไว้ให้เห็นเด่นชัดในใบสมัครงาน หรืออาจจะแจ้งกับเจ้าหน้าที่รับสมัครงานก็ได้ แต่ก็ควรถ่ายเอกสารเตรียมไปด้วยอีก 1 ชุด เพื่อว่า เจ้าหน้าที่รับสมัครเขาหาไม่เจอจะได้มอบให้เขาไว้เลย

5.จดรายละเอียด  ควรจะจดรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องใช้ไปให้พร้อม เช่น หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขใบขับขี่ วันที่ออกบัตร สถานที่ออกบัตร วันหมดอายุ ชื่อตำแหน่ง และที่อยู่ของที่ทำงาน รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครองพ่อแม่ หรือบุคคลที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ นอกจากนี้ควรจะจำปี พ.ศ. ที่จบการศึกษาในแต่ละชั้นเรียนได้ด้วย 

6.ลายมือ  ควร จะกรอกด้วยลายมือที่สวยงามและสะอาดเรียบร้อย ควรกรอกด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงิน อย่าใช้ดินสอหรือปากกาสีอื่นๆ (หากหน่วยงานรับสมัครส่งใบสมัครไปให้ที่บ้านและไม่ได้ระบุว่าต้องกรอกด้วย ลายมือ ถ้าทำได้ขอให้กรอกรายละเอียดด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีหาเครื่องพิมพ์ดีดไม่ได้ แต่ลายมือสวย ก็ควรจะกรอกด้วยลายมือ)

7.ระบุตำแหน่งงานที่จะสมัครไว้ให้ชัดเจน  ใบสมัครบางแห่งจะมีข้อความถามทำนองว่าหากตำแหน่งที่ต้องการสมัครไม่ว่าง จะสนใจสมัครในตำแหน่งอื่นหรือไม่ หากผู้สมัครแน่ใจว่าเมื่อไม่ได้งานในตำแหน่งที่สมัคร ก็จะไม่ทำงานในตำแหน่งอื่น ก็กรอกข้อความลงไปเลยว่าไม่ อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำว่า ขอให้ระบุด้วยว่าสนใจในงานลักษณะอื่นด้วย โดยให้พิจารณาว่า ตนเองควรจะเหมาะสมกับงานประเภทใด และระบุลักษณะงานที่ต้องการลงไป การที่ให้ระบุลักษณะงาน เพราะจะกว้างกว่าระบุตำแหน่งงาน เช่น หากระบุว่าต้องการงานด้านบัญชี อาจจะได้รับการพิจารณาให้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีทั่วไป เจ้าหน้าที่บัญชีต้นทุนหรือเป็นผู้ช่วยแคชเชียร์หรือ ผู้ช่วยสมุห์บัญชี แต่ถ้าหากว่าสนใจตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชี หากตำแหน่งผู้ช่วยสมุห์บัญชีไม่ว่าง อาจไม่ได้รับการพิจารณาเลย นอกจากจะระบุลักษณะงานที่คิดว่าจะทำได้แล้วควร ระบุข้อความต่อท้ายว่า หรืองานอื่นที่เหมาะสม อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่รับสมัครที่มีคุณภาพของหน่วยงาน จะใช้วิจารณญาณประกอบการคัดเลือกใบสมัครด้วยว่า ผู้สมัครงานเหมาะกับตำแหน่งงานด้านอื่นหรือไม่ แม้ผู้สมัครจะไม่ได้ระบุลักษณะงานอย่างอื่นที่ต้องการก็ตาม ในกรณีที่ใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ ข้อความที่ควรใช้ในช่องนี้น่าจะเป็น Any.Suitable Position แต่ก็มีบ่อยครั้ง ที่ผู้สมัครกรอกตำแหน่งที่จะสมัครงานผิดหรือไม่เข้าใจตำแหน่งงานนั้นๆ ทำอะไรบ้าง ก่อนจะสมัครตำแหน่งอะไร ควรศึกษางานของตำแหน่งนั้นเสียก่อน 

8.ควรจะกรอกรายละเอียดในใบสมัครให้ครบทุกช่อง   แต่ มีข้อต้องระวังว่า รายละเอียดใดที่ยังไม่แน่ใจ หรือยังไม่พร้อม เช่น ขาดใบปริญญา ให้กรอกข้อความว่า N / A ( Not Applicable) หรือจะนำมาในภายหลัง กรณี ไม่มีข้อความที่จะกรอกให้ขีด (-) ลงในช่องนั้น เป็นการแสดงว่าเป็นคนละเอียดรอบคอบ

9.กิจกรรม   กรณี ที่ต้องกรอกรายละเอียดของงานที่เคยทำหรือกิจกรรมที่เคยทำขณะศึกษาอยู่ ให้พยายามเขียนให้รวบรัด ได้ใจความและเน้นจุดสำคัญ หากรายละเอียดเหล่านี้ได้ระบุในประวัติย่อแล้ว ให้ระบุไว้ในช่องนี้ด้วยว่า ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในประวัติย่อ

10.บุคคลอ้างอิง   กรณี ที่ต้องระบุชื่อผู้อ้างอิงหรือถึงบุคคลที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้ สมัครทั้งในด้านอุปนิสัย ใจคอ ความประพฤติ หรือหน้าที่การงาน ควรจะต้องแจ้งบุคคลเหล่านั้นก่อน และหากเป็นไปได้ควรจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการธุรกิจ ราชการ หากหาบุคคลดังกล่าวไม่ได้ควรจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือเพื่อนรุ่นพี่ หรือ อาจารย์พิเศษในวิชาที่ผู้สมัครเรียน อย่าอ้างอิงพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ เพราะบางหน่วยงานจะระบุไว้ชัดเจนว่า บุคคลที่จะตรวจสอบประวัติได้จะต้องไม่ใช่ญาติพี่น้อง

11.กรอกเป็นภาษาอังกฤษ   ถ้า ผู้สมัครมีความสามารถในการกรอกใบสมัครงานเป็นภาษาอังกฤษก็ควรจะทำ แต่หากใบสมัครไม่ได้ระบุว่าต้องกรอกภาษาอะไรและผู้สมัครไม่แน่ใจในภาษา อังกฤษขอให้ใช้ภาษาไทยจะดีกว่า กรณีใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษควรใช้ ค.ศ.แทน พ.ศ.

ที่มา: part-time-univercity.blogspot.com

เมื่อ 9 ต.ค. 2561 เข้าชม 2081 ครั้ง
 
JobASD.com